วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553



ประวัติ

ชื่อ นางสาว จิริยา เดชวรวิทย์ อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3 เลขที่ 26 ชื่อเล่น นู๋ยุ้ย
เกิดวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ศาสนา พุทธ สัญชาติ ไทย นิสัย เป็นคนอารมณ์ดี
แต่นิสัยเสียที่เป็นคนโกรธง่ายหายเร็วและเป็นคนที่ไม่ค่อยจะฟังคนอื่นซักเท่าไหร่
งานอดิเรก ดูหนัง ร้องเพลง สิ่งที่ชอบ ตุ๊กตาหมีและเพื่อนๆม.6/3ทุกๆคน สิ่งที่ไม่ชอบ สัตว์ดุร้าย

การสร้าง E -Book ด้วยโปรแกรม Desktop Author
การสร้างปกหนังสือ
1. เปิดโปรแกรม Desktop Author ขึ้นมาเลือก New เมื่อคลิกแล้วจะขึ้นหน้าต่าง Book Properties ให้เซตค่าต่างๆ ตามต้องการ หรือ จะใช่ค่าที่โปรแกรมตั้งไว้ก็ได้

2. เมื่อเซตค่าที่ต้องการแล้วให้คลิกที่ปุ่ม

Ok ก็จะปรากฏหน้ากระดาษเปล่าขึ้นมาให้
การแบ่งหน้ากระดาษ
เมื่อได้หน้าหน้าเพจเปล่ามาแล้วเราสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้เลย แต่หากเราต้องการต้องการให้หน้าเพจของเราแบ่งเหมือนหน้ากระดาษ ก็ควรทำการแบ่งหน้าเพจด้วยตัวแบ่งก่อน โดยการเลือกใช้คำสั่ง Buttons แล้วเลือก Divider เมื่อคลิกเลือกคำสั่ง Divider แล้ว จะปรากฏไดอะล็อคบล็อกของตัวแบ่งขึ้นมา มีหลายรูปแบบให้เราเลือก ถ้าได้รูปแบบที่เราต้องการแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Use ได้เลย เมื่อกดปุ่ม Use จะมีตัวแบ่งมาให้ ซึ่งเราสามารถเคลื่อนย้ายไปไว้ตำแหน่งใดก็ได้ตามต้องการ
การสร้างปกหน้าของหนังสือ
การสร้างปกหน้าของหนังสือ ควรทำหลังจากที่แบ่งหน้ากระดาษแล้ว ปกหน้าของหนังสือจะอยู่ด้านขวามือของหน้ากระดาษ ดังนั้นเราจึงต้องทำให้หน้ากระดาษทางด้านซ้ายมือหายไป ซึ่งวิธีการปฏิบัติดังนี้ คลิกเมาส์ที่เมนูคำสั่ง Tools จากนั้น เลื่อนเมาส์มาคลิกที่คำสั่ง Book Transparency จะปรากฏ Dialog Box ของ Book Transparency ขึ้นมาให้ในหัวข้อ Eazy Covcr shape ให้ใส่เครื่องหมายถูกหน้า With Transparency จะเป็นการกำหนดให้สีนั้นมีลักษณะโปร่งใส
ซึ่งเราจะใช้สีที่โปรแกรมกำหนดมาให้หรือเลือกสีเองก็ได้ หากต้องการกำหนดสีโปร่งใสเอง
ก็สามารถทำได้โดยคลิกเลือกที่ Selecl จะปรากฏไดอะล็อคบล็อกของสีขึ้นมาให้เราเลือกสีที่ต้องการ
จากนั้น ให้เลือกเครื่องมือ Insert Box จากกลุ่มเครื่องมือ Insert จะปรากฏไดอะล็อคบล็อกสีขึ้นมา
ให้เราเลือกสีเดียวกับที่เราได้กำหนดไว้ใน Transparent Colour เมื่อเลือกสีแล้วจะเห็นกล่องสีเพิ่มเข้ามาในหน้าหนังสือของเรา จากนั้นให้ทำการขยายกล่องสีให้เต็มหน้ากระดาษ เพื่อจะทำให้หน้าทางด้านซ้ายกลายเป็นวัตถุโปร่งใส ก็จะได้หน้าปกหนังสือขึ้นมาแล้ว
การใส่ข้อความลงในหน้าหนังสือ
หลังจากที่เราทำการสร้างปกหน้าของหนังสือแล้ว เราจะมาทำการใส่ข้อความลงไปบนหน้าปก
ของเรา การใส่ข้อความลงในหน้าหนังสือนั้น มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
1. คลิกเลือกเครื่องมือ Insert Text
2. พิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป
3. ปุ่มเปลี่ยนแบบอักษร
4. ปุ่มเปลี่ยนสีอักษร
5. ปุ่มเปลี่ยนขนาดอักษร
6. เมื่อกำหนดค่าต่างๆ แล้วคลิกที่ปุ่ม Ok
เมื่อทำการใส่ข้อความ และปรับแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้ตัวอักษรออกมา เมื่อเราลากตัวอักษรไปวางทางด้านขวามือแล้ว เราก็ได้ตัวหนังสือบนหน้าปก
การใส่รูปภาพลงในหน้าหนังสือ
เมื่อเราใส่ข้อความลงไปในหน้าหนังสือได้แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการใส่รูปภาพลงในหน้าหนังสือ ซึ่งมีวิธีการปฏิบัติดังนี้ เมื่อคลิกเลือกที่คำสั่ง Insert Image แล้วจะปรากฏไดอะล็อคบล็อกขึ้นมาให้เลือกรูปภาพ เมื่อคลิกปุ่ม Open แล้ว รูปภาพที่เลือกจะลงไปอยู่ในหน้าหนังสือ
ซึ่งเราสามารถปรับขนาดและเคลื่อนย้ายรูปภาพได้ตามต้องการ หน้าหนังสือเราก็จะปรากฏรูปภาพขึ้นมา เมื่อทำเสร็จแล้ว เราก็จะได้หน้าปกของหนังสือ ซึ่งมีข้อความและรูปภาพปรากฎอยู่เรียบร้อยแล้ว
การสร้างเนื้อหาบน E -Book
เมื่อสร้างปกหนังสือเรียบร้อยแล้ว ต่อมาจะเป็นการใส่เนื้อหาลงไปในหนังสือ ซึ่งในการใส่ เนื้อหานั้น หากเรามีข้อมูลอยู่ในเอกสารของ Word ก็สามารถที่จะคัดลอกมาใส่ในหน้าเอกสารของ
E –Book ได้ เพื่อความรวดเร็วในการสร้าง และวิธีการใส่เนื้อหาลงไปนั้น ก็คือการใส่ข้อความและ
รูปภาพนั่นเอง ซึ่งวิธีการทำนั้นก็ได้อธิบายไปในขั้นต้นแล้ว แต่ก่อนที่เราจะทำการใส่เนื้อหาลงไปนั้น เราต้องทำการเพิ่มหน้ากระดาษเปล่าลงไปในหนังสือก่อน
การเพิ่มหน้ากระดาษลงในหนังสือ
คลิกเลือกที่เครื่องมือ Add Page เมื่อคลิก 1 ครั้ง ก็จะได้หน้ากระดาษเปล่าขึ้นมา 2 หน้า
ถ้าหากเราต้องการเพิ่มหน้ากระดาษ เราก็คลิกเลือกที่เครื่องมือ Add Page เหมือนเดิมทุกครั้งที่ต้องการเพิ่มหน้ากระดาษ และหากต้องการใส่สีพื้นหลังของหนังสือ ก็ไปที่เมนู File เลือก
Book Properties แล้วเลือก Select Background Colour เลือกสีที่ต้องการแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Ok
ได้เลย
การสร้างภาพ Insert Popup Image
คลิกเลือกที่เครื่องมือ Insert popup image แล้วก็คลิก Select popup image เลือกให้ เหมือนภาพที่เราตั้งไว้แล้วก็ Open จากนั้นเราก็มาคลิกที่ Add/Change Image เลือกให้เหมือนภาพที่เราตั้งไว้ เช่นกัน จากนั้นก็คลิกที่ Open เสร็จแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Ok
การทำ Link
การ Link ไปยังหน้าต่างๆ ภายในหนังสือ โดยปกติการเชื่อมโยงภายในหน้าหนังสือ ส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนของสารบัญ ซึ่งทำได้ดังนี้ คลิกเลือกที่เครื่องมือ Insert Text เพื่อสร้างข้อความที่ใช้เชื่อมโยงไปยังหน้าต่างๆ ของหนังสือขึ้นมา โดยเมื่อปรากฏไดอะล็อคบล็อกของ Text Editor ขึ้นมาแล้วให้พิมพ์หัวข้อหลักของแต่ละเรื่องลงไปเสร็จแล้ว จากนั้นเราก็ทำ Link แต่ละข้อโดยทำได้ดังนี้ คือ เราดับเบิ้ลคลิกที่หัวข้อนั้นแล้วคลิกเมาส์คลุมดำ จากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม Link เมื่อคลิกที่ปุ่ม Link แล้วจะปรากฏไดอะล็อคบล็อกของ Link Editor ขึ้นมาในช่องของ Link Type ให้เลือกเป็นแบบ Page และในช่อง Link Target ให้เลือกหน้าของหนังสือที่ต้องการเชื่อมโยง จากนั้นก็คลิกที่ปุ่ม Ok เมื่อคลิกปุ้ม Ok แล้วจะกลับมาที่หน้าของ Text Editor ให้สังเกตว่าบนข้อความที่เราทำการใส่ Link ไว้นั้น จะมีเส้นขีดทับอยู่เพียงเท่านี้ก็เป็นการเสร็จขั้นตอนของการสร้างการเชื่อมโยงภายในหน้าหนังสือแล้ว
การสร้างปกหลัง
เมื่อเราใส่เนื้อหาเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของการสร้างหนังสือก็คือการทำปกหลังนั่นเอง ซึ่งการทำปกหลังนั้นก็จะมีวิธีการเหมือนกับการทำหน้าปกหนังสือ จากนั้นสร้างปกหลังของหนังสือไว้ทางซ้าย และทำการแทรกกล่องสีขึ้นมาแล้วขยายให้เต็มหน้าหนังสือทางขวา
เซตค่า Book Transparency ที่หัวข้อ Easy Back Cover Shape ให้ใส่เครื่องหมายถูกหน้า With Transparency แล้วเลือกสีที่เป็นสีเดียวกับกล่องสีที่เราใส่ไปเมื่อก่อนหน้านี้ เท่านี้เราก็จะได้ปกหลังของหนังสือเรียบร้อยแล้ว ซึ่งก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนของการสร้างหนังสือ
การบันทึกไฟล์ในโปรแกรม Desktop Author
คลิกที่ปุ่ม Package ซึ่งเมื่อคลิกเลือก Package Exe แล้วโปรแกรมจะทำการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เมื่อทำการรวบรวมเสร็จ หนังสือของเราก็จะปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอให้เราได้เปิดดูกัน

เนื้อหา

แหล่งโบราณคดี

แหล่งโบราณคดีโนนเมือง



ชื่อแหล่ง โบราณคดีโนนเมือง
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด ขอนแก่น
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่บ้านโนนเมือง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

ประวัติความเป็นมา
จากการสำรวจและขุดค้นโดยหน่วยศิลปากรที่ ๗ จังหวัดขอนแก่น เมื่อ พ.ศ ๒๕๒๕-๒๕๒๖ พบว่าบ้านโนนเมืองมีความเก่าแก่ถึง ๓ ช่วงสมัยติดต่อกัน คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายอายุราว ๓,๐๐๐ ปี สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้นเรียกว่าสมัยทวาราวดี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๖ และสมัยประวัติศาสตร์เรียกว่า ลพบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๙



ลักษณะทั่วไป
มีคูน้ำและคันดินรูปกลมรี เป็นแหล่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งมีหลุมขุดค้นสาธิตขนาดใหญ่ ๗ หลุม

หลักฐานที่พบ
ใบเสมาหินทรายกระจายอยู่ทั่วไป คูเมืองขนาดใหญ่แสดงให้เห็นชุมชนซึ่งเป็นศูนย์กลาง และชุมชนย่อยกระจายอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ มีโครงกระดูกมนุษย์โบราณฝังอยู่เป็นระเบียบและสมบูรณ์ มีเครื่องใช้ กำไลมือ กำไลเท้าที่อุทิศให้แก่ศพ และเครื่องปั้นดินเผาแบบต่าง ๆ มีใบเสมาสมัยทวาราวดีเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นได้นำไปทำเป็นเสาหลักเมืองของเทศบาลนครขอนแก่น

เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีโนนเมือง
เดินทางจากจังหวัดขอนแก่น ตามเส้นทางถนนมะลิวัลย์ (ถนนสายขอนแก่น-ชุมแพ) กิโลเมตรที่ ๘๔ เลี้ยวซ้ายผ่านถนนทหารพรานที่ ๒๕ มีทางแยกเข้าสู่แหล่งโบราณคดี




แหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำ










ชื่อ เขาขนาบน้ำ
ภาค ภาคใต้
จังหวัด กระบี่
สถานที่ตั้ง เป็นภูเขาคู่หนึ่งตั้งอยู่ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแม่น้ำกระบี่ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

ประวัติความเป็นมา
เขาขนาบน้ำนับเป็นภูเขาที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดกระบี่ เพราะเมื่อเดินทางเข้าถึงตัวจังหวัด ภาพที่งดงามประทับใจ คือภาพเขาขนาบน้ำเคียงคู่ หันหน้าเข้าหากันริมแม่น้ำกระบี่ มีหลักฐานยืนยันว่า เขาขนาบน้ำเคยเป็นที่พักอาศัยของผู้คนมาหลายยุคสมัยหลายชั่วอายุคน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ ๒
ลักษณะทั่วไป
บริเวณหลุมขุดทดลองเป็นเพิงผาขนาด ๒๓ x ๗ เมตร ตั้งอยู่ทางตอนล่างของเขาขนาบน้ำติดกับแม่น้ำกระบี่ พื้นผิวของแหล่งที่ขุดทดลอง อยู่เหนือระดับน้ำขณะน้ำขึ้นประมาณ ๑.๕๐ เมตร และได้ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเศษหินที่หลุดออกมาเป็นสะเก็ดตอนหน้าของบริเวณที่ขุดทดลองซึ่งมีอยู่ตลอดแนวที่ระดับน้ำท่วมถึงนั้น ยังคงมีการกัดเซาะอยู่เมื่อระดับน้ำสูงขึ้น ระยะสูงจากส่วนล่างของผนังเพิงผา ๕ เมตร มีรอยตัดอันเนื่องมาจากการซัดของคลื่นซึ่งแสดงให้เห็นว่าในช่วงหนึ่งในอดีตระดับน้ำทะเลสูงกว่าปัจจุบันประมาณ ๕ เมตร ซึ่งดร. ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาและผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาเขตคาบสมุทรไทย ได้เปรียบเทียบรอยเซาะจากทะเลในถ้ำหลายแห่งบริเวณนั้น ได้ให้ข้อคิดว่า รอยตัดนั้นดูค่อนข้างใหม่ น่าจะมีอายุตรงกับสมัยไพลสโตซีน ตอนกลาง ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลครั้งสุดท้ายขึ้นสูงสุด คือ อายุระหว่าง ๖,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ ปีในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จากมหาวิทยาลัยบราวด์ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับ ดร. พรชัย สุจิตต์ และดร. วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน (นักมานุษยวิทยา) ได้ทำการขุดหลุมทดลอง เพื่อสำรวจทางโบราณคดี พบหลักฐานซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นแหล่งที่เคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ อาศัยอยู่ก่อนต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ภายใต้โครงการศึกษา แหล่งโบราณคดีช่วงปลายยุคไพลสโตชีน - โฮโลชีน โดยมี ดร. พิสุทธิ วิจารสรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสำรวจจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดินเป็นหัวหน้าโครงการร่วมกับรศ.ดร.ไพบูลย์ ประโมจนีย์ นักธรณีวิทยาผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศ.ดร.ดักลาส แอนเดอร์สัน และรศ.ดร.วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน นักมานุษยวิทยา ได้รับเงินทุนจากรัฐบาลไทย ให้ทำการขุดค้นที่ถ้ำเขาขนาบน้ำ บริเวณทางซ้ายมือของหลุมทดลองที่เคยขุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อศึกษาการปรับตัวของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ริมทะเลเมื่อประมาณ ๖,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปี ซึ่งการขุดค้นจะอยู่ในความควบคุมดูแลของกรมศิลปากรและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดกระบี่

หลักฐานที่พบ
บริเวณหลุมขุดค้นที่ทำการขุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พบหลักฐานหลายชิ้นที่แสดงว่าเคยมีมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่เป็นต้นว่า เปลือกหอย กระดูกสัตว์ ที่มีร่องรอยการเผากินเป็นอาหาร ฟันสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เศษถ่าน เศษภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา กระดูกขามนุษย์ ฯลฯหลักฐานเหล่านี้ ศ. ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน จะทำการศึกษาวิจัยในประเทศไทยให้เสร็จสิ้นแล้วส่งมอบให้กรมศิลปากร เป็นผู้เก็บรักษาไว้ ยกเว้นผงถ่าน ซึ่งจำเป็นต้องนำไปประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำการทดสอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า "Radio cabon ๑๔ " เพื่อหาอายุโดยประมาณของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำที่ทำการขุดค้นนี้
นอกจากนี้ ทีมงานที่ทำการขุดค้นได้เว้นพื้นที่ใกล้เคียงไว้เพื่อให้นักโบราณคดีในยุคต่อ ๆ ไป ที่สนใจและมีเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นได้ทำการขุดค้นหาหลักฐานที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพื่อทำการศึกษาวิจัยต่อไปในอนาคต

เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
โดยสารเรือหางยาวจากท่าเรือสะพานเจ้าฟ้า ไปยังภูเขาซึ่งตั้งอยู่เบื้องหน้าลูกที่อยู่ทางขวามือใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที หรือลงเรือจากโรงแรมกระบี่เมอร์รี่ไทม์ ไปยังภูเขาลูกทางซ้ายมือ ใช้เวลาประมาณ ๒-๓ นาที ก็จะถึงแหล่งโบราณคดีเขาขนาบน้ำ



แหล่งโบราณคดีควนลูกปัด




ชื่อ ควนลูกปัด แหล่งชุมชนโบราณคลองท่อม
ภาค ภาคใต้
จังหวัด กระบี่
สถานที่ตั้ง ชุมชนโบราณควนลูกปัด (คลองท่อม) ตั้งอยู่ประมาณเส้นละติจูดที่ ๗ ํ ๕๕ ๑๖" เหนือ และลองติจูดที่ ๙๙ ํ ๙ ๔๙" ตะวันออก ทิศเหนือจดที่ดินวัดคลองท่อม บ้านเรือนของชาวบ้าน ทิศใต้ติดกับที่ครอบครองของชาวบ้าน สวน และป่าละเมาะ ทิศตะวันออกติดต่อกับที่นาและสวนยางพารา ทิศตะวันตกติดต่อกับสวนผลไม้ บ้านเรือน และวัดคลองท่อม

ประวัติความเป็นมา
ประวัติชื่อชุมชน คำว่า "ควนลูกปัด" เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกเมื่อมีการค้นพบลูกปัดแก้วสีต่าง ๆ บนเนินดินบริเวณนี้ สมัยก่อนไม่มีใครสนใจเพราะเห็นว่าไม่มีค่าอะไร หรือเห็นว่าเป็นของโบราณเกรงจะเกิดอาเพทตามความเชื่อและเรียกบริเวณนี้ว่า ควนลูกปัด ส่วนชื่อ"คลองท่อม" เป็นชื่อหมู่บ้าน ตำบลและอำเภอ ตั้งขึ้นตามชื่อ"ลำคลอง" ที่ไหลผ่าน คำว่า "ท่อม" มีผู้ให้ความเห็นดังนี้
"ท่อม" เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง สมัยก่อนขึ้นอยู่ทั่วไปตามบริเวณลำคลอง"ท่อม" เลือนมาจากคำว่า "ทุ่ม" ซึ่งแปลว่า ทอดทิ้ง ละร้างไป สันนิษฐานว่าชุมชนแห่งนี้ถูกละทิ้งไปเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น ถูกข้าศึกรุกราน หรือละทิ้งไปเพราะเกิดโรคระบาดอย่างร้ายแรง

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะของควนลูกปัดเป็นเนินดิน ไม่มีคูน้ำคันดินหรือคูเมือง เป็นเนินราบในระดับความสูง ๘ เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นที่ราบกว้างประมาณครึ่งตารางกิโลเมตร แวดล้อมด้วยสวนยางพารา สวนผลไม้ ป่าละเมาะและบ้านเรือนของชาวบ้าน ด้านตะวันออกเป็นแนวสูงต่อมาจากไหล่เขา เนินด้านเหนือไปสิ้นสุดกลางบริเวณที่ราบต่ำ ทางใต้และตะวันตกเป็นที่ราบมีลำคลองไหลผ่านชื่อคลองท่อม

หลักฐานที่พบ
หลักฐานทางโบราณคดี พบการอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ แต่ก็มีการพบวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย กลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเนินดินคลองท่อมคงเป็นชนพื้นเมืองสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาใกล้เคียงนั่นเอง เพราะจากหลักฐานต่าง ๆ จากบริเวณอ่าวพังงาลงมาถึงบริเวณเขาขนาบน้ำ ถ้ำเสือ ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก ถ้ำอ่าวโกบหน้าชิง ล้วนเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ชุมชนคลองท่อมอยู่ใกล้ทะเล มีลำคลองไหลผ่าน อยู่ในเส้นทางการเดินข้ามแหลมจากตะวันตกไปตะวันออก เป็นที่ผ่านไปมาของบรรดาพ่อค้าต่าง ๆ เช่น จากอินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย เป็นต้น
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ ประเภทวัตถุที่ทำด้วยหิน เช่น เครื่องมือหิน หินดุ แท่นหินสลัก แม่พิมพ์ ตราประทับ ลูกปัดหิน ก้อนรัตนชาติ หินบด หินลับ ครกหิน ฯลฯวัตถุที่ทำด้วยแก้ว มีลูกปัดแก้วหลายสีหลายขนาด กำไลแก้ว แก้วหล่อ เศษแก้วหลอม แหวน เศษภาชนะแก้ว ฯลฯวัตถุที่ทำด้วยดินเผา มีเศษภาชนะดินเผาทั้งที่เคลือบและไม่เคลือบ มีลายและไม่มีลาย ตะคันดินเผา แวดินเผา แม่พิมพ์ ลายประทับรูปกลีบบัว รูปดอกไม้ ดินเผารูปสัตว์ รูปคนเล็ก ๆ หินดุวัตถุที่ทำด้วยสำริด มีจำพวกแหวนสำริด กำไล ตุ้มหู รูปสัตว์ต่าง ๆ เหรียญที่เป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ชิ้นส่วนคันฉ่องสำริดของจีนวัตถุที่ทำด้วยเงิน มีจำพวกกำไล แหวน ตุ้มหู เหรียญรูปลักษณ์ต่าง ๆ แร่เป็นก้อนซึ่งสันนิษฐานว่าแร่เงินวัตถุที่ทำด้วยทองคำ มีจำพวกลูกปัดต่าง ๆ ทองคำแท่งหรือเป็นแผ่น แหวนทองคำ เป็นต้นแหล่งโบราณคดีคลองท่อมหรือควนลูกปัด เป็นสถานที่สำคัญในเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี วัตถุโบราณส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม โดยพระครูอาทรสังวรกิจเป็นผู้ดำเนินการ ผู้สนใจทางโบราณคดีแวะไปชมและศึกษาอยู่เป็นประจำ

เส้นทางเข้าสู่ควนลูกปัด
โดยสารรถยนต์ประจำทางหรือรถส่วนตัว จากตัวเมืองกระบี่ไปตามเส้นทางกระบี่-ตรังผ่านกิ่งอำเภอเหนือคลอง ไปยังอำเภอคลองท่อมระยะทาง ๔๐ กิโลเมตร ผ่านตลาดคลองท่อมไปยังวัดคลองท่อมซึ่งอยู่ทางซ้ายมือ เดินเท้าจากวัดไปยังแหล่งโบราณคดีควนลูกปัดซึ่งอยู่หลังวัด





แหล่งโบราณคดีถํ้าหมอเขียว



ชื่อ แหล่งโบราณคดีถํ้าหมอเขียว
ภาค ภาคใต้
จังหวัด กระบี่
สถานที่ตั้ง บ้านหน้าชิง ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

ประวัติความเป็นมา
จากคำบอกเล่าของชาวบ้านในท้องถิ่นที่มีการเรียกว่าถํ้าหมอเขียว ในอดีตมีหมอพื้นบ้านคนหนึ่งมีชื่อว่าหมอเขียว ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเป็นอย่างดีจนชาวบ้านเลื่อมใสและรู้จักกันดีในละแวกหมู่บ้านหน้าชิง อยู่อาศัยในถํ้าหมอเขียวเมื่อหมอเขียวเสียชีวิตลงชาวบ้านก็เรียกชื่อถํ้าที่หมอเขียวอยู่ว่า "ถํ้าหมอเขียว"โครงการวิจัยวัฒนธรรมโฮบิเนียนในประเทศไทย (The Hoabinhian Research Project in Thailand) ซึ่งเป็นโครงการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาทางโบราณคดี ได้สำรวจพบหลักฐานบนพื้นผิวดินและระบุเป็นครั้งแรกว่า ถํ้าหมอเขียวเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เมื่อปี พ.ศ ๒๕๓๔ และได้ดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีที่ถํ้าแห่งนี้ในปีเดียวกัน คณะผู้ดำเนินการขุดค้นและวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆที่ได้จากการขุดค้น ประกอบด้วยศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ ภู่ขจร อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร หัวหน้าอำนวยการขุดค้น วิเคราะห์สภาพแหล่งและผลการขุดค้นตามชั้นดินวัฒนธรรม นายประพิศ ชูศิริ นักโบราณคดีจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร วิเคราะห์เรื่องโรคจากโครงกระดูกมนุษย์ นางเยาวลักษณ์ ชัยมณี วิเคราะห์กระดูกสัตว์ นายอำพล ไวศยดำรง วิเคราะห์หอย และนายมนัส วัฒนศักดิ์ วิเคราะห์ละอองเกสรพืช




ลักษณะทั่วไป
ถํ้าหมอเขียว อยู่ในเทือกเขาหินปูนเทือกเขาเดียวกับถํ้าอ่าวโกบ (หน้าชิง) คือ อยู่อีกฟากหนึ่งของกลุ่มภูเขากองและเขาช่องลม ถํ้าหมอเขียวอยู่ทางทิศเหนือของถํ้าอ่าวโกบ บริเวณโดยรอบเป็นที่ราบระหว่างเขา เป็นสวนยางพารา และสวนผลไม้ของชาวบ้านมีแนวลำรางชลประทานเก่าๆอยู่ทางทิศตะวันตก ถํ้ามีลักษณะหลืบลึกเข้าไปในผนังประมาณ ๓ เมตร ความยาวพื้นที่ขนานไปตามแนวตะวันออก - ตะวันตกประมาณ ๓๐ เมตร ปากถํ้าหันไปทางทิศเหนือ พื้นที่ของถํ้าแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนแรกมีลักษณะเป็นเพิงผา ส่วนที่สองมีลักษณะเป็นคูหาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของส่วนแรกมีเนื้อที่ประมาณ ๙ ตารางเมตร ส่วนที่สามมีลักษณะเป็นคูหาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของส่วนแรกมีพื้นที่ประมาณ ๑๒ ตารางเมตร

หลักฐานที่พบ
นักโบราณคดีได้ทำการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี เมื่อปี พ.ศ ๒๕๓๔ ได้แบ่งชั้นดินออกเป็น ๖ ชั้น จากชั้นบนลงไปชั้นล่างพบหลักฐานต่างๆดังนี้
- เศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบสีเทาเข้มและสีดำมีทั้งผิวเรียบและลายเชือกทาบ - เครื่องมือหินและเครื่องมือกระดูก มักเป็นเครื่องมือหินขัดกระเทาะ เครื่องมือสะเก็ดหินและมีเครื่องมือกระดูกบ้างบางส่วน
- กระดูกสัตว์ ได้แก่กระดูกสัตว์ใหญ่และเปลือกหอยชนิดต่างๆ ทั้งหอยทะเลและหอยนํ้าจืด - หลักฐานเกี่ยวกับเมล็ดพืช
- หลักฐานเกี่ยวกับกองไฟในชั้นวัฒนธรรมต่างๆ มักพบร่วมกับกระดูกสัตว์ เมล็ดพืช ขวานหิน และสะเก็ดหิน
- เครื่องประดับ ลูกปัดทำจากเปลือกหอย กระดูกสัตว์และแผ่นหิน
- หลุมฝังศพและโครงกระดูก

เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
สามารถเดินทางไปได้สะดวก โดยเริ่มต้นจากปากทางเข้าวัดถํ้าเสือผ่านบ้านหน้าชิงระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนบ้านเขาตั้ง มีทางแยกซ้ายมือเข้าไปทางสวนยางพาราอีกประมาณ ๕๐๐ เมตร ถึงถํ้าหมอเขียว





แหล่งโบราณคดีเมืองอู่ตะเภา








ชื่อ เมืองอู่ตะเภา
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด ชัยนาท
สถานที่ตั้ง บ้านอู่ตะเภา ตำบลอู่ตะเภา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท

ประวัติความเป็นมา
จากหนังสือโบราณคดีเมืองอู่ตะเภา เอกสารกองโบราณคดีหมายเลข ๓/๒๕๓๔ ตามโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดี ของกรมศิลปากร ได้กล่าวถึงโบราณคดีเมืองอู่ตะเภา ไว้ว่าเมืองอู่ตะเภา เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า ๒๐ ปี จากการสำรวจของอาจารย์มานิตย์ วัลลิโภดม ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ จากการสำรวจเบื้องต้น ได้พบเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมคางหมู ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอู่ตะเภา โบราณสถาน เศษเครื่องปั้นดินเผาและเหรียญเงินมีตรารูปสังข์ อีกด้านเป็นรูปศรีวัตสะ และปลา เป็นต้น รอบ ๆ เมืองมีระบบการชลประทานและสระน้ำ นอกจากนี้ยังมีเมืองโบราณอยู่ใกล้ ๆ อีก ๒ เมือง คือเมืองนครน้อย และเมืองนางเหล็ก กลุ่มเมืองดังกล่าวอยู่ในสมัยทวาราวดี (ศรีศักร วัลลิโภดม, ๒๕๓๕ : ๕๓-๕๕)ระหว่างปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ชาวบ้านบริเวณบ้านหางน้ำสาครได้พบชิ้นส่วนธรรมจักรและเสาแปดเหลี่ยมจำนวนหนึ่ง ได้นำไปเก็บไว้ที่ธนาคารกรุงเทพฯ สาขาชัยนาท ในความดูแลของ นายแพทย์สำนวน ปาลวัฒนวิไชย เจ้าของที่ดินที่ขุดพบ ต่อมานักโบราณคดีจากกองโบราณคดี กรมศิลปากร ได้เดินทางไปตรวจสอบและทำการศึกษาทางโบราณคดี ในบริเวณที่พบธรรมจักรศิลา พบชิ้นส่วนธรรมจักรเพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง และฐานเป็นรูปวงกลม แต่หยุดการทำงานไว้ชั่วคราว เพราะเป็นฤดูฝน อย่างไรก็ตามได้ลอกจารึกบนธรรมจักรและเสาแปดเหลี่ยมส่งให้นักภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติทำการศึกษา ปรากฏเป็นอักษรปัลลวะ ภาษาบาลีเรื่อง "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร"


ลักษณะทั่วไป
ลักษณะเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พื้นที่ประมาณ ๒๙.๕ ไร่ สภาพปัจจุบันมีคูน้ำขนาดกว้างประมาณ ๑๙ เมตร คันดินสูงประมาณ ๙ เมตร เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำและคันดินอยู่ในสภาพดี ดูสวยงามมากเมืองหนึ่ง ด้านตะวันตกของเมืองซึ่งเป็นด้านยาวที่สุดของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู อยู่ติดกับแม่น้ำอู่ตะเภา กำแพงเมืองตอนที่ใกล้ลำน้ำแม่น้ำมากที่สุด อยู่ห่างกันเพียง ๔๐ เมตรเท่านั้น ด้านนี้คูเมืองตื้น คันกำแพงเมืองค่อนข้างต่ำ หมู่บ้านอู่ตะเภาตั้งอยู่บริเวณนี้มีรอยขาดของกำแพงเมืองทางด้านนี้สองช่อง แสดงให้เห็นว่า เป็นช่องระบายน้ำออกจากเมือง ริม กำแพงข้างในมีสระน้ำ ๒ สระอยู่ติดกัน ทางด้านตะวันออกมีร่องกำแพงเมืองกว้างประมาณ ๕ เมตร ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นประตูเมือง ห่างประตูเมืองออกไปนอกเมืองทางเหนือราว ๓๐ เมตร พบซากเจดีย์ก่อด้วยอิฐ ฐานกว้างประมาณ ๑๘ เมตร พระเจดีย์องค์นี้ถูกทำลายเสียแล้วอย่างยับเยิน เหลือให้เห็นอยู่เพียงแค่ฐานเท่านั้น ห่างตัวเมืองออกไปทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ราว ๕๐๐ เมตร พบเสาโกลนสมัยทวาราวดี ทำด้วยหินสีเขียวจมอยู่ในดินหลักหนึ่ง สูงจากพื้นดิน ๘๔ เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง ๕๕ เซนติเมตร กำแพงเมืองด้านหนึ่งเป็นสันสูงมีต้นไม้ปกคลุมทึบแล่นวกไปบรรจบกันกับด้านตะวันตก มีช่องทางระบายน้ำออกจากตัวเมืองช่องหนึ่งบริเวณกลางเมืองค่อนมาทางด้านตะวันตกและด้านเหนือ เนินดินขนาดใหญ่อยู่เนินหนึ่งชื่อบ่อหมัน เป็นซากศาสนสถานขนาดใหญ่ ซึ่งก่อด้วยอิฐและศิลาแลง แต่ทว่ายังเหลือแต่ฐาน ตรงกลางมีบ่อลึกและพบเนินดินมีเศษกระเบื้องถ้วยชามมากมายผิดกับบริเวณอื่น และพบเหรียญเงินขนาดใหญ่กว่าห้าบาท ปัจจุบันด้านหนึ่งเป็นตราสังข์อีกด้วนหนึ่งมีรูปศรีวัตสะและรูปปลา จึงดูแปลกกว่าเงินอื่น ๆ ที่พบในเขตเมืองนี้ซึ่งมีตราเป็นรูปดวงอาทิตย์และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปศรีวัตสะ

หลักฐานที่พบ
สระน้ำโบราณ ๑ สระ มีสภาพตื้นเขินเศษภาชนะดินเผา เตาเครื่องปั้นดินเผา และโครงกระดูก ซึ่งทางจังหวัดได้ส่งให้กรมศิลปากรพิสูจน์แล้ว

เส้นทางเข้าสู่เมืองอู่ตะเภา
จากเมืองชัยนาท เดินทางไปตามเส้นทางหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ถึงสี่แยกสายเอเชีย เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๒ (สายเอเชีย) ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีทางแยกถนนลูกรังไปยังเมืองอู่ตะเภา ประมาณ ๕๐๐ เมตร


แหล่งโบราณคดีถํ้าอ่าวปากหมาก





ชื่อ ถํ้าอ่าวปากหมาก
ภาค ภาคใต้
จังหวัด กระบี่
สถานที่ตั้ง หมู่ที่ ๒ บ้านนาเขาไฟไหม้ ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

ประวัติความเป็นมา
พระมหาอิทธิพล สุพโล และประชาชนในพื้นที่ได้ทำการขุดดินภายในถํ้าอ่าวปากหมาก เพื่อปรับสภาพพื้นที่สร้างศาลาที่พักสงฆ์บริเวณหน้าถํ้า และพบชิ้นส่วนของโครงกระดูกมนุษย์ประมาณ ๑๐ โครง พร้อมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้สมัยหิน ประเภทขวานหิน ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ เครื่องประดับหิน และซากสัตว์ แต่ชิ้นส่วนของโครงกระดูกได้ถูกเผาไปหมดแล้ว สำหรับเครื่องมือเครื่องใช้ ทางสำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองกระบี่ ได้นำไปเก็บรักษาไว้เพื่อรอการศึกษาวิเคราะห์จากนักโบราณคดีต่อไป

ลักษณะทั่วไป
สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบ มีภูเขาหินปูนลูกโดดๆเป็นแนวจากเทือกเขานาเขาไฟไหม้ หน้าเพิงถํ้าหันไปทางทิศใต้ มีความลึกเข้าไปประมาณ ๕ เมตร ภายในมีอากาศถ่ายเทสะดวก ด้านหน้าเพิงผามีลำคลองเล็กๆไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนปาล์มนํ้ามันและสวนยางพาราของชาวบ้าน

หลักฐานที่พบ
ซากโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เครื่องมือหิน ภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ
ชิ้นส่วนกระดูกสัตว์


เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
การเดินทางไปได้สะดวก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๑๐ กิโลเมตร โดยเริ่มต้นจากบ้านตลาดเก่าตามถนนสายกระบี่ - ภูเก็ต ประมาณ ๖ กิโลเมตรถึงปากทางเลี้ยวขวาเข้าวัดในช่องแล้วเดินทางตามถนนสายบ้านนาเขาไฟไหม้ประมาณ ๑ กิโลเมตร


แหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ







ชื่อ แหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ
ภาค ภาคใต้
จังหวัด กระบี่
สถานที่ตั้ง บ้านถํ้าเสือ ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ประวัติความเป็นมา
สมัยที่บริเวณนี้ยังเป็นป่ารก ชาวบ้านได้พบเห็นเสือโคร่งเดินเข้าออกแถบถํ้านี้อยู่เสมอจึงเรียกกันว่า "ถํ้าเสือ" และเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ด้วย เมื่อพระอาจารย์ จำเนียร สีลเสฏโฐ มาบุกเบิกใหม่ๆ ได้เล่าว่า สภาพเดิมเป็นป่ารกมาก มีถํ้าที่สงบเงียบเหมาะแก่การทำวิปัสนากรรมฐาน ได้พบคนแปลกหน้าคนหนึ่งในหุบเขา "คีรีวง" ท่านได้ถามว่าในถํ้านี้เป็นอย่างไรบ้าง ชายผู้นั้นตอบว่าขอให้ท่านขึ้นไปขี่บนหลังของเขาเถอะแล้วจะพาเข้าไปดูในถํ้าและบอกว่ามีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ท่านก็มิได้ไปเพราะคิดว่าคนผู้นี้จะอาศัยท่านเข้าไปเอาวัตถุมีค่าในถํ้าเสียมากกว่า ต่อมาเมื่อท่านนำพระและเณรมาอยู่แล้วก็พบชายผู้นี้อีกครั้งหนึ่งในหุบเขา ชายผู้นั้นได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆอีกมากมาย โดยเล่าว่า เมื่อประมาณ ๑๒๐๐ ปีมาแล้ว หุบเขาถํ้าเสือเป็นเกาะใกล้ทะเล ครั้งหนึ่งมีชาวเมืองไทรบุรีได้ทราบข่าวการสร้างพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จึงพากันนำเอาทรัพย์สินเงินทองจะมาบรรจุไว้ในพระธาตุ เรือถูกพายุมาติดที่บริเวณถํ้าเสือเป็นเวลาช้านาน ผู้คนเหล่านั้นต่างล้มตายไปหลายคน ต่อมาได้ทราบว่าการสร้างพระบรมธาตุนั้นเสร็จสิ้นแล้ว พวกที่เหลือจึงเอาทรัพย์สินสมบัติฝังไว้ในถํ้า ช่วยสกัดก้อนหินปากถํ้าเอาไว้ โดยอาศัยระบบนํ้าย้อยจนปากถํ้าปิดสนิทต่อมาอีกหลายร้อยปีทะเลบริเวณนี้ ได้ตื้นเขินกลายเป็นป่าเสน ผู้คนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งที่อยู่อาศัย กลายเป็นที่พักของพวกพ่อค้าเดินทางไปมา หรือข้ามแหลมจากตะวันตกไปยังตะวันออก พระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ กล่าวว่าชายคนนี้เล่าเหมือนว่าเขารู้ประวัติศาสตร์ดีแต่จะเชื่อได้แค่ไหนขอให้พิจารณาดู หลังจากนั้นท่านก็บอกว่าไม่พบเห็นชายผู้นั้นอีกเลย จึงคิดว่าเขาคงเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติภายในถํ้าแห่งนี้ จึงให้ชื่อว่า "ถํ้าคนธรรพ์" บริเวณนี้เคยมีคนเคยพบพระพุทธรูปทองคำและวัตถุมีค่าอื่นๆอีกด้วย ที่ใกล้เคียงกันมีการคนพบถํ้าเล็กถํ้าน้อยอีกมากมาย เช่น ถํ้าปลาไหล ถํ้าลูกธนู ถํ้าช้างแก้วเป็นต้น

ลักษณะทั่วไป
แหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ เป็นภูเขาหินปูนพืดติดต่อกันหลายลูก หน้าเพิงถํ้าหันไปทางทิศตะวันออก ซึ่งลาดลงไปสู่พื้นราบ เพิงถํ้าด้านหน้ายาวขนานไปกับพืดเขาสูงจากพื้นดินประมาณ ๕ เมตร เป็นแหล่งโบราณคดีสองสมัยในที่เดียวกัน คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ปัจจุบันนั้นเป็นที่ตั้งของวัดถํ้าเสือ

หลักฐานที่พบ
จากการสำรวจทางโบราณคดีของนักโบราณคดี มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ คือ เครื่องมือหิน พระพิมพ์ดินดิบ ภาชนะดินเผาทรงกลมมีการตกแต่งลวดลายเชือกทาบและเศษภาชนะดินเผา รวมทั้งภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขาโบราณวัตถุที่พบพระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์สำนักถํ้าเสือเป็นผู้เก็บรักษาไว้ที่วัดถํ้าเสือเป็นจำนวนมาก และในบางส่วนอยู่ในความครอบครองของชาวบ้าน

เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
การเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ สามารถเดินทางได้สะดวก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๙ กิโลเมตร การเดินทางเริ่มต้นจากสี่แยกบ้านตลาดเก่า ตามถนนสาย กระบี่ - ตรัง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึงปากทางเลี้ยวซ้ายเข้าวัดถํ้าเสืออีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็ถึงแหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ


แหล่งโบราณคดีองค์พระปฐมเจดีย์






ชื่อ แหล่งโบราณคดีองค์พระปฐมเจดีย์
ภาค ภาคกลาง
จังหวัด นครปฐม
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ประวัติความเป็นมา
องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นปูชนียสถานทางพุทธศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อครั้งพระองค์โปรดให้สมณทูตมาประกาศพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ นักปราชญ์ทางโบราณคดี มีความเห็นตรงกันว่าสมณทูตในครั้งนั้นคือ พระโสณเถระ และพระอุตรเถระ คณะสมณทูตได้เดินทางมาถึงเมืองถมทอง หรือนครปฐม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕ การเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้ดำเนินตลอดมาโดยมีกษัตริย์ที่ปกครองดินแดนใน สุวรรณภูมิ ยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖ พระโสณเถระได้ให้สร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรกในเขตสุวรรณภูมิ ที่เมืองถมทองนี้ ต่อมาได้มีการสร้างพระสถูปเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๖๕ พระภูริยเถระผู้ทำนิมิตพัทธสีมาตั้งชื่อวัดว่า "วัดพุทธบรมธาตุ" ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกและพระเจดีย์องค์แรกของพระพุทธศาสนาในดินแดนแถบนี้ พระปฐมเจดีย์นี้เดิมเป็นสถูปรูปบาตรคว่ำ แบบสัญจิเจดีย์ในประเทศอินเดีย
การบูรณะปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์ได้กระทำอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนถึงสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์โปรดให้วัดขนาดขององค์พระเจดีย์ รวมความสูง ๔๐ วา ๒ ศอก ต่อมาครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จธุดงค์มานมัสการพระ เจดีย์นี้ และเมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ก็ได้โปรดให้ปฏิสังขรณ์ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ มีขนาดสูง ๑๒๐ เมตร ๔๕ เซนติเมตร มีลักษณะเป็นพระเจดีย์รูประฆังคว่ำปากผาย โครงสร้างเป็นไม้ซุง ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องมีพระวิหารทั้งสี่ทิศ เชื่อมต่อด้วยคตพระระเบียง การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ แล้วพระราชทานนามว่า "พระปฐมเจดีย์" พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกยอดพระมหา มงกุฎของพระปฐมเจดีย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๓ และต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการซ่อมพระวิหารหลวง เขียนภาพตัดขวางให้เห็นพระปฐมเจดีย์องค์เดิม ซ่อมพระวิหารด้านทิศเหนือ และอัญเชิญพระร่วงโรจนฤทธิ์ มาประดิษฐานในพระวิหารด้านทิศเหนือนี้ การบูรณะปฏิสังขรณ์พระปฐมเจดีย์ได้ กระทำอย่างต่อเนื่อง และจริงจังในสมัยรัชกาลปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาการสมัยใหม่เพื่ออนุรักษ์พระปฐมเจดีย์นี้ให้มั่นคงถาวรอยู่ คู่ฟ้าเมืองไทยตลอดไป
ลักษณะทั่วไป
มีลักษณะเป็นพระเจดีย์รูประฆังคว่ำปากผาย ขนาดสูง ๑๒๐ เมตร ๔๕ เซนติเมตร โครงสร้างเป็นไม้ซุง ก่ออิฐถือปูนประดับด้วยกระเบื้องมีพระวิหารทั้งสี่ทิศ เชื่อมต่อด้วยคตพระระเบียง

ความสัมพันธ์กับชุมชน
๑. องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นพระมหาสถูปเจดีย์ที่สำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยแสดงให้เห็นถึง การเผยแผ่ และการตั้งมั่นของพระพุทธศาสนา ในดินแดนนี้ ๒. องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่วิวัฒนาการรูปแบบมาจากรูปลักษณ์เดิม สมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช และเจดีย์ยอดพระปรางค์ในสมัยขอมเรืองอำนาจ ปัจจุบันเป็นผลงานรวมของศิลปกรรมไทยที่มีเอกลักษณ์ไทยโดดเด่น ทั้งทางด้านสถาปัตยกรรม และประติมากรรม วิศวกรรม และจิตรกรรม
๓. องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์ทางพุทธศาสนาที่สูงที่สุดในโลก สูงกว่าพระเจดีย์ชะเวดากองในประเทศพม่า
๔. องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งคณะสมณทูตได้รับพระราชทานมาจากพระเจ้าอโศก ตั้งแต่ครั้งเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ
๕. องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นที่รวมของศิลปวัตถุ และหลักฐานสำคัญทางพุทธศาสนาเป็นอันมาก เป็นต้นว่าวิหารทั้งสี่ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ วิหารคต จารึกพระธรรมคำสอนเป็นอักษรขอม พระพุทธรูปศิลาขาว จิตรกรรมฝาผนัง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ ที่มีขนาดสูงถึง ๑๒ ศอก ๔ นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามอย่างยิ่ง และได้รับการเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป ๖. องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะชาว จังหวัดนครปฐม องค์พระปฐมเจดีย์นั้นถือเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทุกชนิด ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ศาสนา การศึกษา และพาณิชยกรรม ก็ล้วนถือเอาองค์พระปฐมเจดีย์เป็นศูนย์กลางทั้งสิ้น

เส้นทางเข้าสู่พระปฐมเจดีย์
ปัจจุบันการเดินทางไปนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นไปโดยสะดวก จากกรุงเทพฯ สามารถไปได้ ๒ ทาง คือทางรถไฟ และรถยนต์ทางรถไฟ โดยสารรถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือ สถานีรถไฟบางกอกน้อย มาลงที่สถานีรถไฟนครปฐม ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมงเศษทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ มาตามเส้นทางถนนเพชรเกษม หรือ ถนนปิ่นเกล้า- นครชัยศรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๑ ชั่วโมง

แหล่งโบราณคดี เมืองเสมา











ชื่อ แหล่งโบราณคดี เมืองเสมา
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด นครราชสีมา
สถานที่ตั้ง ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมา
เมืองเสมาเป็นเมืองโบราณที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัด นครราชสีมา เชื่อว่าน่าจะเป็นชุมชนเก่าก่อนที่จะย้ายมาที่ตัวเมืองนครราชสีมาปัจจุบัน ประวัติความเป็นมาแบ่งออกได้เป็น ๒ สมัย โดยสมัยแรกเป็นชุมชนวัฒนธรรมแบบทวาราวดี มีการยอมรับเอาวัฒนธรรมอินเดีย คือ ศาสนาพุทธและพราหมณ์เข้ามาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่คงขนบธรรมเนียมบางอย่างไว้ เช่น การฝังศพนอนหงายเหยียดยาว รวมทั้งอุทิศสิ่งของต่าง ๆ ให้แก่ศพ ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยที่สอง พบหลักฐานการอยู่อาศัยต่อเนื่องจากสมัยแรกแต่เป็นชุมชนวัฒนธรรมเขมรโดยชน ชั้นปกครองจะนับถือศาสนาพราหมณ์ จนภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ ไม่ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์อีกเลย สันนิษฐานว่าเมืองแห่งนี้อาจถูกทิ้งร้างมาจนถึงปัจจุบัน




ลักษณะทั่วไป
เป็นเมืองโบราณที่มีคูน้ำคันดิน กำแพงเมืองชั้นเดียวรูปกลมรี ๒ วงต่อเนื่องกัน ขนาดยาวประมาณ ๑,๗๐๐ เมตร จากทางด้านทิศเหนือไปทางทิศใต้ และจากทางด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ความยาวประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร กำแพงหรือคันดินสูง ๓-๔ เมตร คูน้ำกว้างประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ทางด้านใต้ของเมืองมีลำห้วยไผ่ไหลผ่านและห่างออกไปประมาณ ๓ กิโลเมตร มีลำตะคองที่เชื่อมต่อกับแม่น้ำมูลได้ภายในเมืองเสมามีสภาพเป็นป่าโปร่ง เนื่องจากสภาพพื้นที่ถูกปรับไถปลูกพืชไร่นา ปัจจุบันพื้นที่เมืองเสมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้หมดทั้งสิ้น ประมาณ ๒,๔๗๕ ไร่ จึงไม่ได้อยู่ในความครอบครองของชาวบ้านอีกต่อไป เมืองโบราณเสมาจึงนับเป็นเมืองที่สมบูรณ์ที่สุดอีกเมืองหนึ่ง แม้ว่าที่ผ่านมาโบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในเมืองเสมาจะถูกลักลอบขุดทำลาย เพื่อหาโบราณวัตถุไปจำหน่ายทำให้โบราณสถานมีสภาพทรุดโทรมเป็นอันมาก
หลักฐานที่พบ
หลักฐานที่พบภายในเมืองเสมา มีโบราณสถานทั้งสิ้น ๙ แห่ง โดย ๖ แห่ง อยู่ในเมืองรูปกลมรี อีก ๓ แห่ง อยู่ด้านทิศเหนือในเมืองวงใหญ่ที่มีรูปค่อนข้างกลม นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานนอกเมืองที่สำคัญอีก ๒ แห่ง คือ พระนอนในวัดธรรมจักรเสมารามและสถูปในวัดแก่นท้าว โบราณสถานทั้งหมดได้รับการขุดแต่ง บูรณะเสริมความมั่นคงและปรับภูมิทัศน์แล้วเสร็จ ยกเว้นสถูปในวัดแก่นท้าว สำหรับโบราณวัตถุ อาทิ ธรรมจักรศิลา จารึกเมืองเสมา จารึกบ่ออีกา และจารึกศรีจนาศะ โดยจารึกบ่ออีกาและจารึกศรีจนาศะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชาแห่งศรีจนาศะ มีบุคคลที่ชื่อว่า "อังศเทพ" สร้างศิวลึงค์ทองคำอันเป็นสัญลักษณ์พระอิศวรในลัทธิไศวนิกาย และได้รับดินแดนอยู่นอกกัมพุเทศจารึกหลักนี้ทำขึ้นใน พุทธศักราช๑๔๘๐ ส่วนจารึกเมืองเสมาเป็นจารึกในพุทธศักราช๑๕๑๔ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๕ กล่าวถึงพราหมณ์ยัชญวราหะสั่งให้ทำจารึกขึ้นไว้ที่เมืองเสมา (พบจารึกหลักนี้ที่โคปุระ) เพื่อแสดงอำนาจเมือง พระนครแห่งอาณาจักรเขมร



แหล่งโบราณคดี ชุมชนบ้านเมืองไผ่










ชื่อ แหล่งโบราณคดี ชุมชนบ้านเมืองไผ่
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด บุรีรัมย์
สถานที่ตั้ง ชุมชนบ้านเมืองไผ่ ตำบลเมืองไผ่ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติความเป็นมา
ชุมชนโบราณบ้านเมืองไผ่ เป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมานานหลายร้อยปี สันนิษฐานว่าคงมีอายุสมัยขอม ทั้งนี้เพราะชาวบ้านขุดพบโครงกระดูกและโบราณวัตถุที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ ในชีวิตประจำวันหลายประเภท เช่นเครื่องปั้นดินเผา มีทั้งประเภทเนื้อดินธรรมดาและเคลือบสีต่างๆ มีสีน้ำตาลดำ เขียวอมฟ้า แจกันรูปสัตว์ต่างๆเป็นจำนวนมาก
จากหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้พอสรุปได้ว่าชุมชนแห่งนี้คงจะอยู่ในยุคโลหะตอนปลาย ซึ่งเทียบได้กับยุคโลหะตอนปลายของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ซึ่งมีการกำหนดอายุไว้ระหว่าง ๓๐๐ ปี ก่อนคริสตศตวรรษถึง ค.ศ.๒๐๐ เป็นชุมชนที่รู้จักถลุงเหล็กเพื่อผลิตเป็นอาวุธ เช่นใบหอก ขวาน และรู้จักผลิตเครื่องประดับสำริด รู้จักใช้ควายเป็นเครื่องทุ่นแรงในการกสิกรรม และยังมีความสามารถในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบต่างๆอีกด้วย



ลักษณะทั่วไป
สำหรับผังเมืองของชุมชนโบราณแหล่งนี้มีลักษณะเป็นรูปวงรี มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๓ ชั้น ปัจจุบันคูน้ำบางส่วนได้รับการขุดลอกใหม่เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

หลักฐานที่พบ
จากการขุดค้นทางโบราณคดี ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีจำพวกเครื่องปั้นดินเผา โลหะ หินและแก้ว ซึ่งเป็นเครื่องใช้ อาวุธและเครื่องประดับต่างๆ นอกจากนี้ยังพบกระดูกสัตว์และเปลือกหอย ซึ่งคนในอดีตอาจนำมาเป็นอาหารหรือทำเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนทำเป็น เครื่องประดับ
นอกจากนี้ยังมีการพบใบเสมาหินขนาดใหญ่อันเป็นสิ่งก่อสร้าง เนื่องในพุทธศาสนาปักอยู่ สันนิษฐานว่าบริเวณนี้อาจเป็นวัดมาก่อน และบริเวณด้านทิศใต้ห่างจากคูเมืองประมาณ ๓๐ เมตร มีเนินดินชาวบ้านเรียกว่าโนน เคยมีศาสนสถานชาวบ้านเรียกว่า "ปราสาทยายสม" ภายในศาสนสถานเคยมีประติมากรรมรูปคนตั้งอยู่บนแท่นศิวลึงค์ เป็นที่น่าเสียดายที่ปราสาทยายสมถูกรื้อทำลายจนแทบไม่เหลือร่องรอยเดิม ส่วนปฏิมากรรมรูปบุคคลที่ชาวบ้านเรียกว่า "ยายสม" นั้นคนร้ายลักขโมยไปนานกว่า ๒๐ ปีแล้ว



แหล่งโบราณคดี เตาเครื่องเคลือบดินเผาบุรีรัมย์








ชื่อ แหล่งโบราณคดี เตาเครื่องเคลือบดินเผาบุรีรัมย์
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด บุรีรัมย์
สถานที่ตั้ง อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์

ประติความเป็นมา
เครื่องเคลือบดินเผาซึ่งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เคลือบสีน้ำตาล สีเขียว และสีขาว มีคนพบตามศาสนสถานในอีสานใต้และในประเทศกัมพูชาโดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา มีผู้สนใจศึกษา โดยขุดค้นแหล่งที่พบตามปราสาทต่างๆกำหนดอายุและสถานที่ค้นพบเรียกเป็นยุคกุ เลน ลีเดอแวง ปาปวนชัยวรมันที่ ๕ นครวัด และบายน กำหนดอายุตามปราสาท คือราว ๑ พันปี แต่ไม่มีใครรู้แหล่งผลิต จึงเรียกรวมๆกันว่าเครื่องถ้วยเขมรจนกระทั่งมีการบุกเบิกพื้นที่ชายแดน ไทย-เขมร ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นมา มีการตั้งอำเภอบ้านกรวด ละหานทราย และบุกเบิกทำมาหากินมากขึ้น จึงมีผู้ค้นพบเตาและเครื่องเคลือบดินเผาจำนวนมาก มีผู้ทำธุรกิจซื้อขายกันทั่วไป กระทั่งเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงออกมาสำรวจและขุดค้น พร้อมทั้งอาคารคลุมเตาไว้ที่เตานายเจียนและเตาสวาย อำเภอบ้านกรวด เครื่องถ้วยนี้จึงเรียกเป็นเครื่องบ้านกรวด ตามแหล่งที่พบเตาส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอบ้านกรวด กว่าร้อยเตา

ลักษณะทั่วไป
เตาเครื่องเคลือบดินเผาแบบบ้านกรวด เป็นเตายาวสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อขึ้นบนดินหรือเนินดินสูง ขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่สาน ฉาบด้วยดินเหนียวเผาเป็นอิฐดิบ (ไม่ใช่อิฐเป็นก้อน) มีกองดินเป็นเสาค้ำอยู่ตรงกลาง บรรจุภาชนะด้านข้างเตา ความยาวของเตามีถึง ๑๒ เมตร กว้าง ๓ เมตร แต่ขนาดจะแตกต่างกันตามมาตรฐานของธุรกิจ เตาส่วนใหญ่หันปล่องเตาไปทางทิศใต้ ช่องบรรจุฟืนอยู่ทางทิศเหนือ แสดงว่าเผาในช่วงฤดูหนาวซึ่งลมพัดมาจากทิศเหนือ ปัจจุบันกรมศิลปากรทำหลังคาคลุมไว้มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษา

หลักฐานที่พบ
๑. โครงสร้างเตา ร่องรอยการขึ้นโครงเตา ปล่องไฟ
๒. เครื่องถ้วยชามชนิดต่างๆ เช่น ไห คนโทน้ำ ถ้วย แจกัน วัสดุก่อสร้าง เครื่องประดับตกแต่งตัวอาคารเป็นต้น
๓. เครื่องมือในการผลิต เช่น แท่นหินบด วัสดุทำเครื่องเคลือบ

เส้นทางเข้าสู่เตาเผาเครื่องเคลือบ
จากจังหวัดบุรีรัมย์ไปตามถนนหมายเลข ๒๑๙ สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระยะทางประมาณ ๔๔ กิโลเมตร จากนั้นไปตามถนนหมายเลข ๒๐๗๕ สายประโคนชัย-อำเภอบ้านกรวด ระยะทางประมาณ ๒๒ กิโลเมตร














แหล่งโบราณคดี ภาพสลักผาหิน ถ้ำผาลาย ภูผายนต์










ชื่อ แหล่งโบราณคดี ภาพสลักผาหิน ถ้ำผาลาย ภูผายนต์
ภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด สกลนคร
สถานที่ตั้ง บ้านนาผาง ซึ่งห่างกันในทางตรงประมาณ ๑ กิโลเมตร สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๘๐ เมตร สูงจากพื้นราบชายเขา ๒๐๐ เมตร

ประวัติความเป็นมา
ศิลปะถ้ำในจังหวัดสกลนคร เพิ่งเป็นที่รู้จักกันเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จากการค้นพบและประชาสัมพันธ์ของศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสกลนคร (วิทยาลัยครูสกลนคร ในขณะนั้น) ต่อมาคณะสำรวจโบราณคดีของกรมศิลปากร จึงได้เดินทางไปศึกษารายละเอียดหลายครั้ง เพื่อจะได้นำข่าวสารที่น่าสนใจมาเผยแพร่ส่งเสริมให้เดินทางไปทัศนศึกษา แหล่งนั้น ๆ ในภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติจริง ๆ

ลักษณะทั่วไป
ถ้ำผาลายคือ แหล่งที่มีภาพสลักรูปรอยลงในเนื้อหิน ส่วนหนึ่งของภูผายนต์ซึ่งติดกับภูต่าง ๆ มี ภูโล้น ภูบันได อยู่ทางเหนือ ภูหมากแงวตอนเหนืออยู่ทางทิศตะวันออก ภูหมากแงวตอนใต้อยู่ทางทิศใต้ ภูพอกแลง ภูอ่างขาม อยู่ทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีลำห้วยแห่งหนึ่งซึ่งเกิดจากภูเขาไหลผ่านระหว่างเชิงภูกับหมู่ บ้านนาผางไหลไปบรรจบกับลำน้ำพุงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน ทางด้านทิศตะวันออกของภูผายนต์ มีห้วยปลาก้อนไหลลงบรรจบกับลำน้ำพุงทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนทางด้านทิศเหนือมีลำห้วยพุง เมื่อพิจารณาที่ตั้งของภูผายนต์แห่งนี้จะเห็นว่ามีชัยภูมิแวดล้อมด้วยภูต่าง ๆ และลำน้ำถึง ๓ ด้านนับเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์และยังได้ใช้ภูเขาเป็นแหล่งทำพิธีกรรม หรือหลบซ่อนตัวยามมีภัยได้เป็นอย่างดี มีชัยภูมิเช่น นี้เหมาะกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์แหล่งภาพสลักหิน อยู่ในส่วนพื้นที่เป็นหน้าผาหิน ทรายลักษณะเป็นเพิงผา ที่ชาวอีสานเรียกว่า "ถ้ำ" สันนิษฐานว่า แต่เดิมเพิงผาแห่งนี้อาจมีเพิงหินหลังคาและแนวหินด้านข้างหนาทึบ และภาพสลักก็อาจอยู่ลึกกว่านี้ แต่เนื่องจากการกัดกร่อนทางธรรมชาติ เช่น น้ำฝน ซึ่งมีกรดคาร์บอนิคกัดกร่อนหินทรายให้สลายออกไปทีละน้อย นอกจากนี้กระแสลมและแสงแดดก็มีส่วนทำให้เกิดการสึกกร่อนของหน้าผาได้เช่นกัน ทั้งนี้ด้วยเหตุที่เวลาล่วงเลยนับพันปีจึงทำให้เหลือเฉพาะเพิงผาตื้น ๆ ที่เห็นในปัจจุบันเท่านั้นลักษณะของเพิงผาหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เป็นหน้าผายาว ๔๕ เมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหลังคาหิน ๑๒ เมตร สูง ๔ เมตร มีโพรงลึกขนาดพอลอดได้อยู่กึ่งกลางผนังหิน หากโพรงมีภาพสลักหลายภาพ และอาจมีภาพสลักภายในโพรงหินซึ่งจะต้องมีการสำรวจข้างในขึ้นเนื้อหาราย ละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

ความเชื่อของชาวบ้าน
แหล่งที่เป็นโบราณสถานทุกแหล่งมักมีความเชื่อหรือนิทานพื้นบ้านประกอบอยู่ เสมอ แหล่งภาพสลักแห่งนี้ก็เช่นเดียวกัน ชาวบ้านเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของภูติผีปีศาจ ภูติผีเหล่านี้เคยไปก่อการรังควาญให้ชาวบ้านเจ็บป่วยอยู่เสมอ ในที่สุดต้องมีการสร้างสำนักสงฆ์ และนิมนต์พระสงฆ์มาอยู่จำพรรษา หลังจากนั้นความเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากผีรบกวนจึงน้อยลงในด้านนิทานพื้นบ้าน ชาวบ้านเชื่อว่า แต่เดิมถ้ำผาลายแห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์มีเจ้าภูตนหนึ่งอาศัยในถ้ำ หากชาวบ้านที่ยากจนประสงค์เสื้อผ้า เครื่องประดับเพื่อแต่งไปในงานบุญก็จะมาบอกกล่าวขอยืม หลังจากนั้นจะมีข้าวของเครื่องใช้ไปวางไว้ที่ปากถ้ำ แหล่งที่ชาวบ้านไปแต่งตัวคือ เชิงเขาแห่งหนึ่งอยู่ตอนเหนือของหมู่บ้านที่เรียกว่า "โนนสาวเอ้" ชาวบ้านเชื่อว่าครั้งหนึ่งมีหญิงสาวไปขอยืมเสื้อผ้าจากเจ้าป่าเจ้าภูนำไป แต่งตัว แต่ผ้าซิ่นที่ยืมไปเปื้อนประจำเดือน และนำไปคืนโดยไม่ได้ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ทำให้เจ้าป่าเจ้าภูโกรธมากเกิดอาถรรพ์ในหมู่บ้าน หลังจากนั้นก็ไม่อนุญาตให้ขอยืมข้าวของเครื่องใช้อีกต่อไป ชาวบ้านยังเชื่อว่า ในวันธรรมะสวนะในสมัยก่อนได้ยินเสียงฆ้องกลองดังอยู่แต่ไกลบนถ้ำแห่งนี้นิทานเช่นนี้มีลักษณะคล้ายกับนิทานที่กล่าวถึงกำเนิดผีมเหสักข์ชาวผู้ไทย ซึ่งเล่าสืบมาช้านานเพียงแต่แตกต่างกันว่า คนใช้ซึ่งเป็นหญิงสาวของผู้วิเศษใช้ลิ้นเลียอิ้วฝ้ายที่แตกชำรุดของชาวบ้าน ซึ่งนำมาวางไว้หน้าปากถ้ำ แต่ชาวบ้านผู้นั้นก็หลบซ่อนตัวเพื่อลักลอบดูเหตุการณ์ เมื่อสาวใช้ใช้ลิ้นเลียอิ้วฝ้ายที่แตกทำให้ชาวบ้านตกใจเกรงว่าจะเป็นอันตราย จึงร้องอุทานบอกว่าอิ้วฝ้ายแตกจะทำให้ลิ้นเป็นแผลความตกใจที่รู้ว่ามีผู้ ลักลอบดูเหตุการณ์ ทำให้อิ้วฝ้ายบาดลิ้นสาวใช้ของเจ้าภูผู้วิเศษเลือดไหลและวิ่งหนีเข้าถ้ำ เจ้าภูผู้วิเศษโกรธมากจึงแสดงฤทธิ์เดชเป็นหมอกควันปกคลุมไปทั่ววังสามหมอ ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่ให้สาวใช้ปรากฏร่างเพื่อช่วยเหลือชาวบ้านอีกต่อไป ส่วนตนเองก็กลายเป็นผีมเหสักข์จะปรากฏต่อเมื่อมีการเชิญเข้าในร่างทรงของนาง เทียมที่ตนเลือกไว้เท่านั้น

หลักฐานที่พบ
จากการสำรวจของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๐ โดย นายพะเยาว์ เข็มนาค และคณะ พบว่ามีภาพต่าง ๆ แยกประเภทได้ดังนี้
๑. ภาพคน มีทั้งหมด ๒๑ ภาพ มีทั้งภาพคนที่เหมือนจริงและภาพกึ่งเหมือนจริงภาพเหมือนจริง คือ ภาพที่บ่งบอกลักษณะว่าเหมือน เช่น ภาพคนเหมือนซึ่งเน้นแสดงโครงภายนอก ไม่มีรายละเอียดของอวัยวะ เช่น หู ตา ปาก จมูก นิ้วมือ นิ้วเท้า มีจำนวน ๙ ภาพ เป็นภาพเด็ก ๒ ภาพ ผู้ใหญ่ ๗ ภาพ ภาพกึ่งเหมือนจริงคือภาพที่บ่งบอกลักษณะว่าเป็นคนโดยสัดส่วน แต่จะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เช่น หัวคนเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือแขน ขา ไม่เน้นให้เห็นกล้ามเนื้อ แต่มีอวัยวะที่สำคัญครบส่วน เช่น หู ตา ปาก จมูก ไม่มีนิ้วมือ นิ้วเท้า ภาพประเภทนี้ มี ๑๒ ภาพ
๒. ภาพมือ มีเพียงภาพเดียว เป็นภาพมือขวาแบ หงายมือแสดงอุ้งมือ มีนิ้ว ๖ นิ้ว ๓. ภาพสัตว์ มีทั้งหมด ๒๑ ภาพ ภาพปลา ๘ ภาพ ภาพนำ ๔ ภาพ ภาพสุนัข ๒ ภาพ กระรอกหรือกระแต ๑ ภาพ ภาพควาย ๑ ภาพ วัวหรือควาย ๔ ภาพ กบหรือเขียด ๑ ภาพ ๔. ภาพลวดลายเรขาคณิต เป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือทำเป็นลวดลายต่าง ๆ มีรูปสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม กากบาท หัวลูกศร สามเหลี่ยมขนมเปียกปูน ลายเส้นเดียว ลายเส้นเรียงแถวกัน ลายเส้นตัดกันไปตัดกันมาจนหารูปทรงที่แน่นอนไม่ได้ ซึ่งพบเป็นจำนวนมาก
๕. ภาพสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ภาพที่คล้ายไถ เครื่องมือทำนาแสดงเฉพาะส่วนหัวที่เรียกว่า "หัวหมู" หรือ "ผาล" อยู่ตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีรูปจอบมีด้ามและรูปพัดสำหรับพัดให้กระแสลมพัดข้าวเมล็ดลีบออก
๖.ภาพอาคาร มีลักษณะคล้ายบ้าน ๒ ภาพ เป็นทรงบ้านหลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ภาพหนึ่งมีสุนัขอยู่ข้างในบ้าน อีกภาพหนึ่งเป็นบ้านที่มียอดหลังคาไขว้คล้ายเรือนกาแล หรือเถียงนาในภาคอีสาน และมีภาพคล้ายคนอยู่ในบ้านภาพสลักหินถ้ำผายนต์ ถือว่าเป็นภาพที่มีคุณค่าต่อการทำความเข้าใจปัจจุบันการเลือกที่อยู่อาศัย และสภาพชุมชน โดยอาศัยจากการศึกษาจากภาพสลักที่ผนังถ้ำ แต่นักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นยุคที่ผู้คนได้เริ่มลงมาอาศัยพื้นที่ราบทำการ เพาะปลูกแล้ว ทั้งนี้เพราะมีภาพสลักเป็นรูปจอบ ไถ สัตว์เลี้ยงเช่น วัว ควาย สุนัข ทำให้สันนิษฐานว่า ชุมชนดังกล่าวเป็นสังคมที่พ้นยุคเร่ร่อนแล้วแต่หากได้ตั้งหลักฐานทำการเกษตร และอาจเป็นชุมชนที่มีหลายครัวเรือนได้พากันขึ้นมาทำพิธีกรรมในระบบความเชื่อ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์บางอย่าง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่อาจทราบได้ว่าบุคคลเหล่านี้นับถืออะไร เช่น ดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังพบลานหินกว้างบนยอดเขาชั้นบนเป็นลานกว้าง นักโบราณคดีบางคนสันนิษฐานว่า อาจใช้บริเวณนี้เป็นแหล่งชุมชนเพื่อทำให้พิธีกรรมตามความเชื่อของกลุ่มคน และใช้เวลาว่างในการสลักภาพต่าง ๆ เพื่อเหตุผลบางประการการค้นพบภาพสลักหินที่ถ้ำแห่งนี้และอีก ๒ แห่ง คือ ถ้ำพระด่านแร้งและถ้ำม่วง ทำให้เชื่อว่ามีชุมชนอีกหลายแห่งในบริเวณเทือกเขาภูพาน ชุมชนต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน และมีการถ่ายทอดศิลปะหรือคนเหล่านี้มีความคิดคล้าย ๆ กันการกำหนดอายุศิลปะถ้ำแห่งนี้ นักโบราณคดีผู้สำรวจของกรมศิลปากรเชื่อว่ามีอายุราว ๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว โดยเปรียบเทียบกับหลักฐานควายใช้งานที่ขุดพบที่บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และเชื่อว่าร่องหินทรายที่เซาะเป็นอย่างไรก็ตาม ยังมีนักโบราณคดีอีกหลายคนที่ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับข้อสันนิษฐานเช่นนี้ นักโบราณคดีบางคนเชื่อว่า ภาพสัญลักษณ์หลายภาพมีรูปทรงคล้ายกับภาพสัญลักษณ์ก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย ซึ่งถือกันว่ามีอายุเก่าเกิน ๓,๕๐๐ ปีแน่นอนทาง เกิดจากโลหะปลายแหลมซึ่งหมายถึงเหล็กนั้นคือสังคมแห่งนี้ได้วิวัฒนาการผ่าน ยุคเหล็กไปแล้ว นักโบราณคดีอีกกลุ่มหนึ่งเห็นด้วยกับการใช้ภาพสลักมาเปรียบเทียบกับภาพที่พบ ในต่างประเทศที่ได้กำหนดอายุไว้แล้ว โดยเฉพาะในแหล่งโบราณคดีในยุโรปแต่เห็นเพิ่มเติมว่าควรต้องวิเคราะห์ภาพแต่ ละภาพโดยการตีตารางกริด ทั้งนี้เพราะสังเกตว่าภาพต่าง ๆ มิได้เขียนพร้อมกันครั้งเดียว แต่หากเขียนขึ้นหลายครั้ง จึงทำให้มีทั้งที่เป็นภาพเก่าและภาพใหม่ ในขั้นนี้จึงไม่ควรด่วนสรุปว่าภาพทั้งหมด เป็นภาพอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน
กล่าวโดยสรุป แหล่งโบราณคดีแห่งนี้นับว่าเป็นแหล่งภาพสลักหินที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสานเท่า ที่นักโบราณคดีได้พบเห็นในปัจจุบัน และยังอาจเชื่อมโยงกับแหล่งที่มีภาพลักษณะเดียวกันในบริเวณเทือกเขาภูพานอีก หลายแห่งซึ่งจะทำให้เกิดการค้นคว้าเพื่อหาข้อเท็จจริงในอดีตต่อไป
เส้นทางเข้าสู่ภาพสลักผาหิน ถ้ำผาลาย ภูผายนต์
ตามเส้นทางหลวงสกลนคร-กาฬสินธุ์ กิโลเมตรที่ ๓๔ จะมีป้ายชื่อบอกแหล่งภาพสลักหินก่อนประวัติศาสตร์ มีทางแยกเป็นถนนลูกรังประมาณ ๑๗ กิโลเมตร